บทที่ 1ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี

บทที่ 2 อะตอมและสมบัติของธาตุ

บทที่ 3 พันธะเคมี

ข้อสอบพร้อมเฉลย

วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2561

ข่าวเคมี9

นักวิจัยพัฒนาฟิล์มนาโนฯติดหน้าต่างเพิ่มอุณหภูมิให้กับห้องในฤดูหนาว


ประเทศแถบฤดูหนาวมักเจอปัญหาเหมือนกันคือเครื่องทำความร้อนหรือHeater ต้องทำงานอย่างหนักในการทำให้อุณหภูมิในห้องคงที่ตลอดเวลา เนื่องด้วยกระจกหน้าต่างเป็นส่วนที่ต้องแลกเปลี่ยนความร้อนระหว่าง Heater และอากาศภายนอกอยู่เสมอ ดังนั้นนักวิจัยด้านนาโนเทคโนโลยีจากมหาวิทยาลัยกอเทนเบิร์กจากสวีเดนสามารถผลิตฟิล์มติดกระจกที่สามารถเพิ่มความร้อนเองได้ เมื่อได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ แผ่นฟิล์มมีคุณสมบัติเฉพาะอยู่ด้วยกัน2-3รายการ ดังนี้
1.แต่ละบริเวณของฟิล์มจะมีหัวรับสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าขนาดเล็กกระจายอยู่เต็มแผ่น
2.เสาสัญญาณจะดักจับแสงจากดวงอาทิตย์ และเกิดการสั่นของอิเล็กตรอนจนสร้างความร้อนให้กับแผ่นฟิล์ม
3.ความร้อนจะถูกถ่ายโอนให้กับกระจก
4.แผ่นฟิล์มมีความโปร่งแสงสูงมาก เหมือนกับไม่มีการติดฟิล์มใดๆ

ข้อมูลจากthaiphysicsteacher.com

ข่าวเคมี8

นักวิจัยพัฒนาแบตเตอรี่โซเดียมหวังใช้แทนลิเธียมที่มีราคาแพงกว่า


นักวิจัยจาก Stanford พัฒนาแบตเตอรี่ที่ทำจากโซเดียมหวังใช้ทดแทน Lithium ซึ่งนิยมใช้ในปัจจุบัน
Zhenan Bao นักวิศวกรเคมี และทีมวิทยาศาสตร์ด้านวัสดุศาสตร์อีก2ท่าน คือ Yi Cui และ William Chueh ไม่ใช่เป็นนักวิจัยชุดแรกที่ต้องการจะทำแหล่งพลังงานจากโซเดียม แต่เขาเชื่อว่ามันเป็นไปได้ที่จะทำ และหากทำได้จะลดต้นทุนการผลิตถึง80% เมื่อเทียบกับแบตเตอรี่ที่ทำจาก Lithium ขนาดความจุเท่ากัน
นักวิจัยได้ใช้โซเดียมทำเป็นขั้วแคโทดโดยเป็นขั้วที่ส่งผ่านอิเล็กตรอนไปยังขั้วแอโนด เพราะโซเดียมเพีรียวๆจะมีขั้วเป็นบวก ซึ่งหมายถึงมันสูญเสียอิเล็กตรอนได้ง่าย
สำหรับตัวต้นแบบนั้น Min Ah lee นักวิจัยอีกท่านได้พัฒนาโซเดียมและสาร Myo-inositol (เป็นสารประกอบชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วยหมู่ไฮดรอกซิล6หมู่) โดยช่วยให้อิเล็กตรอนไหลได้ดียิ่งขึ้น
วิธีหนึ่งที่ใช้ในการเปรียบเทียบว่าแบตเตอรี่ที่ใช้โซเดียมนั้นดีีกว่าลิเธียมไม่นั้น ดูจากความหนาแน่นของพลังงานเชิงปริมาตรหรือเทียบง่ายๆว่าต้องสร้างแบตเตอรี่โซเดียมกี่เซลล์ถึงจะเก็บพลังงานได้เท่ากับแบตเตอรี่ที่ทำจากลิเธียม (นอกจากนี้ยังดูจาก Life Cycleในการชาร์จแบตเตอรี่ด้วยว่าได้กี่รอบ หรืออายุใช้งานนานเท่าใด)
ข้อมูลจากthaiphysicsteacher.com

วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2561

ข่าวเคมี7

ทำไร่ข้าวโพด ลดสารเคมี เพิ่มผลผลิต

ทำไร่ข้าวโพด ลดสารเคมี เพิ่มผลผลิต

เกษตรกร อ.บ้านหลวง จ.น่าน หันมาทำน้ำหมักชีวภาพ ใช้ควบคู่กับสารเคมีในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อรักษาผลผลิต หวังลดใช้สารเคมี และดูแลพื้นที่ต้นน้ำ หลังผลวิจัยของมหาวิทยาลัยนเรศวร พื้นที่ จ.น่าน เป็นพื้นที่ที่มีการใช้สารเคมีทางการเกษตรจำนวนมาก
หลังการเปิดเผยข้อมูลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยนเรศวรถึงการใช้สารเคมีในภาคการเกษตร จ.น่าน โดยพบว่ามีการตกค้างในสิ่งแวดล้อมสูง ซึ่งหนึ่งในแนวทางที่กรมควบคุมมลพิษเร่งแก้ปัญหา คือกำหนดค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดิน เพื่อใช้เป็นเกณฑ์หลังจากที่ไทยยังไม่มีมาตรฐานชี้วัดชัดเจน
นายวิจารย์ สิมาฉายา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขได้สุ่มตรวจสารเคมีที่พบในแหล่งต้นน้ำน่าน ซึ่งพบสารเคมีตกค้าง สอดคล้องกับผลวิจัยของมหาวิทยาลัยนเรศวรและสารเคมีที่พบในปริมาณที่สูง คือ กลุ่มสารเคมีกำจัดวัชพืชและยาฆ่าแมลง
อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ระบุว่า จากนี้หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเร่งหารือเพื่อกำหนด "มาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดิน" หรือ คุณภาพของน้ำในแม่น้ำลำคลอง เพราะที่ผ่านมาประเทศไทยยังไม่มีเกณฑ์มาตรฐานค่าชี้วัด ที่เหมาะสมในการดูแลสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังพบว่าสารเคมีที่ภาคการเกษตรใช้ในปริมาณสูงเป็นสารเคมีที่ไม่ได้ระบุไว้ในเกณฑ์การตรวจ ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ซึ่งจะต้องเร่งตรวจสอบต่อไป
เกษตรกรบ้านดู่ ต.บ้านฟ้า อ.บ้านหลวง จ.น่าน ซึ่งส่วนใหญ่ทำไร่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สำหรับการปลูกและการดูแลเกษตรกรจะใช้น้ำหมักชีวภาพ นายกุศล พอใจ คือหนึ่งในเกษตรกรที่ใช้หัวเชื้อน้ำหมัก กล่าว่า เมื่อลดใช้สารเคมี นอกจากจะช่วยลดต้นทุนแล้ว ผลผลิตยังมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอีกด้วย ซึ่งที่ผ่านมายังมีการผสมสารเคมีในน้ำหมักบ้างแต่ใช้ในอัตราที่น้อยลง
สำหรับขั้นตอนการเตรียมไร่เพื่อเพาะปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว 120 วัน แต่ละขั้นตอนลดการใช้สารเคมี และใช้น้ำหมักชีวภาพเป็นตัวเสริมส่วนผลผลิตที่ได้ก็เพิ่มขึ้น โดย นายกุศล กล่าวว่า เมื่อได้พื้นที่เพาะปลูกเกษตรกรจะหยอดเมล็ดข้าวโพดและพ่นยา ครั้งที่ 1 โดยไร่ข้าวโพด 1 ไร่ เขาจะใช้ยาฆ่าหญ้าพาราควอต 500 ซีซี ซึ่งลดลงจากเดิมครึ่งหนึ่ง คือ 1,000 ซีซี หรือ 1 ลิตรและใช้น้ำหมักแทน 3 ลิตร ผสมน้ำเปล่าอีก 200 ลิตร และเมื่อข้าวโพด อายุ ได้ 25-30 วัน จะพ่นยาอีกครั้ง ครั้งนี้จะใช้ยาฆ่าหญ้าพาราควอต 50 ซีซี น้ำหมัก 1 ลิตร น้ำเปล่า 20 ลิตร ซึ้งรอบนี้จะลดการใช้สารเคมีลง 4 เท่า
ข้อมูลจากnews.thaipbs.or.th

ข่าวเคมี6

วิจัยพบสารเคมีการเกษตรทำลายเซลล์สมองทารก-ส่งผลพัฒนาการช้า


ม.ขอนแก่น เปิดเผยผลการวิจัยหญิงตั้งครรภ์ มีความเสี่ยงสูงรับสารเคมีเกษตรเข้าสู่ร่างกาย โดยเฉพาะ “ สารคลอไฟริฟอส ” ทำลายเซลล์สมองทารกในครรภ์ ทำให้พัฒนาการทางร่างกายช้า
ในการประชุมวิชาการเพื่อเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ปี 2559 วันนี้ ( 8 พ.ย. 2559) ผศ.ดร.สุพัตรา ปรศุพัฒนา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยผลการวิจัยและการการสำรวจการปนเปื้อนสารกำจัดศัตรูพืชในแปลงผัก 27 แห่ง ตลาดสด 106 แห่ง และห้างสรรพสินค้า 1 แห่ง รอบบริเวณกว๊านพะเยา จังหวัดพะ เยา พบว่ามีการปนเปื้อนของสารคลอไพริฟอส มากกว่าร้อยละ 50 โดยตรวจพบมากในกระเทียม มะนาว ผักกาดขาว และ ผักแพว
จากการวิจัยยังพบว่าสารคลอไพริฟอส ส่งผลกระทบรุนแรงต่อร่างกายโดยเฉพาะผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ เพราะสารชนิดนี้ สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย ทั้งจากการสัมผัสและรับประทานผักที่มีการปนเปื้อน เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะกระจายเข้าสู่กระแสเลือด ส่งตรงถึงสมอง เข้าทำลายเซลประสาทของทารกได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา ทำให้เมื่อเด็กเกิดมามีโอกาสเสี่ยงสูงมาก ที่จะมีพัฒนาการทางด้านร่างกายและจิตใจบกพร่อง จะมีผลต่อการแสดงออกของพฤติกรรมและการเรียนรู้ได้ช้า
นอกจากนี้ การสำรวจการรับสารเคมีชนิดเข้าสู่ร่างการของหญิงตั้งครรภ์ยังพบว่า หญิงตั้งครรภ์มีความเสี่ยงสูงมากกว่าคนทั่วไปที่จะรับสารเคมีชนิดไกลโฟเสท และพาราควอต ซึ่งจะมีผลทำให้เกิดการสะสมในเลือดและมีผลต่อการเกิดโรคมะเร็งได้
ส่วนสถานการณ์การปนเปื้อนสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ที่เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสำรวจในผัก 10 ชนิด และผลไม้ 7 ชนิด ทั้งเป็นสินค้าที่มีฉลาก และสินค้าฉลากเขียว พบมีการปนเปื้อนสารเคมีเกษตรเกินร้อยละ 50 โดยพบมากในพริกแดง คะน้า และถั่วฝั่กยาว ส่วนผลไม้พบสารเคมีตกค้างมากในส้มสายน้ำผึ้ง พบการปนเปื้อนร้อยละ 100 รองลงมาคือฝรั่งและแก้วมังกร
ข้อมูลจากnews.thaipbs.or.th

ข่าวเคมี5


กลุ่มเกษตรกรปลูกผัก ขอบคุณ นายกฯ ประยุทธ์ เข้าใจวิถีเกษตร พร้อมประสานภาครัฐเปิด ราชบุรีโมเดล พิสูจน์ปลูกผักใช้สารเคมีไม่อันตราย
กลุ่มเกษตรกรปลูกผัก ขอบคุณ นายกฯ ประยุทธ์ เข้าใจวิถีเกษตร พร้อมประสานภาครัฐเปิด ราชบุรีโมเดล พิสูจน์ปลูกผักใช้สารเคมีไม่อันตราย

เครือข่ายอาสาคนรักแม่กลอง และกลุ่มเกษตรปลูกผัก ยื่นหนังสือขอบคุณ นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านคณะกรรมการวัตถุอันตราย ในการพิจารณาอย่างรอบคอบ ที่จำกัดการใช้ 3 สารเคมี พร้อมประสานความร่วมมือหน่วยงานภาครัฐ เปิด "ราชบุรีโมเดล" พิสูจน์การปลูกผักใช้สารเคมีไม่อันตราย

นางสาวอัญชุลี ลักษณ์อำนวยพร ประธานเครือข่ายอาสาคนรักแม่กลอง เปิดเผยว่า "หลังจากที่ได้มีมติจำกัดการใช้ 3 สารเคมีได้แก่ สารพาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพรีฟอส ของคณะกรรมการวัตถุอันตราย สำหรับการพิจารณาอย่างรอบด้าน บนพื้นฐานข้อเท็จจริง แหล่งข้อมูลทางวิชาการ ห้องปฏิบัติการกลางที่มีเครื่องมือตรวจสอบและได้รับมาตรฐานสากล สอดคล้องกับประสบการณ์จริงของเกษตรที่ไม่เคยประสบปัญหาด้านสุขภาพตามข้อกล่าวอ้างต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น รวมทั้ง ผลการตรวจสอบวิเคราะห์ดินและน้ำจากหนองบัวลำภู โดยความร่วมมือจากกรมวิชาการเกษตร ร่วมกับ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู ไม่พบการตกค้างของสารพาราควอต จึงไม่อยากให้ผู้บริโภคตื่นตระหนก ที่สำคัญ เกษตรกร ก็คือ ผู้บริโภคคนหนึ่งเหมือนกัน"

นอกจากนี้ เครือข่ายอาสาคนรักแม่กลอง และกลุ่มเกษตรปลูกผัก ได้ประสานความร่วมมือกับ กรมวิชาการเกษตร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ศูนย์พิษวิทยา สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ และกรมส่งเสริมสหกรณ์ จัดตั้ง ราชบุรีโมเดล เพื่อทำการศึกษาผลกระทบจากการปฏิบัติจริง หลังจากเกษตรกรได้รับคำแนะนำให้ปฏิบัติอย่างถูกต้องตามมาตรการจำกัดการใช้ โดยใช้หลักการตรวจสอบอย่างต่อเนื่องด้วยการตรวจสุขภาพและเลือดของเกษตรในเขตจังหวัดราชบุรี ควบคู่ไปกับการตรวจสอบสภาพสิ่งแวดล้อม เป็นประจำทุกเดือนต่อเนื่อง แล้วนำผลที่ได้รับมาวิเคราะห์ เปรียบเทียบดูความแตกต่าง และนำมาสรุปผล เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงเรื่องสารเคมีทั้ง 3 ชนิด ส่งผลกระทบหรือไม่ต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

"เกษตรกร 5 ล้านครอบครัว และเกษตรกรรายย่อย 17-20 ล้านคน เชื่อว่ามีความยินดีและพร้อมที่จะดำเนินการตามมาตรการจำกัดการใช้สารเคมี แต่จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมจากทุกภาคส่วน ถึงเวลาแล้วที่จะเดินไปพร้อมกับเกษตรกร และให้เกษตรกรได้เรียนรู้ถึงการเกษตรที่ดีและปลอดภัย (GAP) ดีกว่า การแบนหรือยกเลิกและปราศจากทางออกที่ยั่งยืน" ประธานเครือข่ายอาสาคนรักแม่กลอง กล่าวสรุป

ข้อมูลจากryt9.com



ข่าวเคมี4

สารเคมีกัดสีผมรั่ว ซ.รามฯ 104 อพยพคนวุ่น


กรุงเทพฯ 22 ก.ย. – เกิดเหตุสารเคมีที่ใช้ทำน้ำยากัดสีผมของโรงงานใน ซ.รามคำแหง 104 รั่ว ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องอพยพประชาชนที่อยู่ในละแวกใกล้เคียงเป็นการด่วน
เจ้าหน้าที่กู้ภัยและเจ้าหน้าที่กรมควบคุมมลพิษ กรุงเทพมหานคร เร่งฉีดน้ำทำลายสารเคมีที่นำไปใช้ทำน้ำยากัดสีผม หลังเกิดสารเคมีไฟร์โซเดียมซัลเฟตกว่า 500 ลัง รั่วในโกดังเก็บสินค้า ซึ่งดัดแปลงมาจากอาคารพาณิชย์ 4 ชั้น ในซอยรามคำแหง 104 เจ้าหน้าที่ต้องสวมชุดป้องกันเข้าไปฉีดน้ำควบคุมการระเหยของสาร และกั้นพื้นที่ภายในซอยเป็นพื้นที่อันตราย พร้อมอพยพประชาชนออกทั้งหมด เนื่องจากหากสูดดมจะส่งผลกระทบต่อปอดและระบบทางเดินหายใจ มีอาการแสบตา มึนศีรษะ และคันตามผิวหนัง โดยจากการวัดระดับพบว่าอยู่ในระดับ 6 ถือว่าเป็นอันตราย แต่ยังไม่ถึงขั้นรุนแรง นอกจากนี้ ยังแจกหน้ากากป้องกันการสูดดมสารเคมีโดยตรงให้ประชาชนที่อาศัยในละแวกใกล้ เคียง
ที่ตั้งของโรงงานยังอยู่ฝั่งตรงข้ามโรงเรียนโสมาภานุสสรณ์ ทางโรงเรียนจึงสั่งปิดและอพยพเด็กนักเรียนชั้นอนุบาล 1 ถึง ป.6 ออกจากพื้นที่ และแจ้งผู้ปกครองมารับกลับ ส่วนวันพรุ่งนี้ (23 ก.ย.) จะสามารถเปิดการเรียนการสอนได้หรือไม่ ต้องรอคำยืนยันจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข.
ข้อมูลจากnews.mthai.com

ข่าวเคมี3

หนุ่มคลั่ง บุกทุบห้องสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลบางแสนพังเละ หวิดดับคาสารเคมี


วานนี้(31 มี.ค.) เฟซบุ๊กเพจ SV News ข่าวบางแสน ได้โพสต์ภาพพร้อมข้อความระบุว่า สภ.แสนสุข จ.ชลบุรี ได้รับแจ้งจาก รปภ.ว่ามีคนคลุ้มคลั่งบุกเข้ามาภายในสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลบางแสนและทุบกระจกแตกหลายจุด เจ้าหน้าที่จึงรีบไปตรวจสอบพร้อมกับ รปภ. พบชายอายุประมาณ 25 ปีอยู่ในอาการคล้ายคนเมายา
โดยเจ้าหน้าที่ รปภ.พยายามเข้าไปใกล้หนุ่มคนดังกล่าวก็มีอาการตื่นตกใจและวิ่งหนีเข้าไปภายในห้อง จุลชีว ซึ่งเป็นห้องสารเคมีและห้องเก็บตัวอย่างสัตว์ทะเลและพืชชนิดต่างๆ รวมถึงมีอุปกรณ์ต่างๆเครื่องตรวจสภาพน้ำและอื่นๆ ซึ่งบางอย่างมีราคาแพงเพราะต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ โดยชายคนดังกล่าวทุบกระจกและเข้าไปภายในห้องและทุบทำลายข้าวของทุกอย่างจนพังเละ ส่วนชายคนดังกล่าวได้รับบาดเจ็บถูกกระจกบาดที่มือจนเลือดไหลนองเต็มห้อง
เจ้าหน้าที่พยายามจะเข้าไปควบคุมตัวแต่เข้าไปไม่ได้ เนื่องจากห้องดังกล่าวเป็นห้องเก็บสารเคมีซึ่งมีกลิ่นแรงมากไม่สามารถเข้าไปได้ แต่ชายคนดังกล่าวนอนนิ่งอยู่ข้างในห้องเกรงจะเสียชีวิต เพราะสารเคมีมีกลิ่นแรงมาก รปภ.จึงจะพยายามเข้าไปช่วย จนกระทั่งชายคนดังกล่าวพยายามเดินออกมาและนอนอยู่หน้าห้อง หัวหน้า รปภ.จึงพยายามเข้าไปเกลี้ยกล่อมจนกระทั่งชายคนดังกล่าวยอมออกมาจากห้อง ชายคนดังกล่าวมีอาการพูดจาไม่รู้เรื่อง มีบาดแผลที่แขนและมือ จากการสอบถามทราบว่าชื่อนายพิทักษ์ อายุ 26 ปี เป็นคนจังหวัดหรองบัวลำภู มาทำงานก่อสร้าง รปภ.จึงรีบนำตัวส่ง โรงพยาบาล ม.บูรพาต่อไป
ข้อมูลจากnews.mthai.com

ข่าวเคมี2

มาเลเซียเร่งตามหาถังกัมมันตรังสี สูญหายระหว่างขนส่ง


เกิดเหตุบรรจุภัณฑ์สารกัมมันตรังสี สูญหายไปอย่างเป็นปริศนา ระหว่างการขนส่ง ทางการมาเลเซียเร่งตามหา หวั่นตกอยู่ในมือกลุ่มติดอาวุธ
วันที่ 21 ส.ค.61 สำนักข่าวต่างประเทศรายงาน เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม บรรจุภัณฑ์ใส่สารกัมมันตรังสี รูปทรงกระบอกขนาดใหญ่ หนัก 23 กิโลกรัมสูญหายไป จากท้ายรถกระบะคันหนึ่งระหว่างการขนส่ง จากเมืองเซเร็มบัน ไปยัง เมืองชาห์ อาลาม เมืองเอกของรัฐสลังงอร์ ซึ่งอยู่ห่างประมาณ 60 กม. ส่งผลให้ทางการมาเลเซียกำลังเร่งติดตามหาบรรจุภัณฑ์ดังกล่าว เนื่องจากหวั่นเกรงว่าสารกัมมันตรังสีที่อยู่ภายในอาจแพร่กระจายจนก่อให้เกิดอันตรายได้
ทั้งนี้บรรจุภัณฑ์สารกัมมันตรังสีที่สูญหายไปนั้นคือสาร ‘อิริเดียม’ ไม่ทราบปริมาณ อาจฟุ้งกระจายสู่อากาศ หรือตกอยู่ในมือกลุ่มติดอาวุธ ซึ่งสารดังกล่าว สามารถนำไปผลิตระเบิดนิวเคลียร์อย่างหยาบ ที่เรียกกันว่า ‘dirty bomb’ ได้
อย่างไรก็ตาม หลังจากบรรจุภัณฑ์สารกัมมันตรังสีดังกล่าว ได้สูญหายไปอย่างเป็นปริศนา พนักงานสองคนของบริษัทได้ถูกจับกุม ก่อนจะถูกปล่อยตัวในเวลาต่อมา เพราะไม่มีหลักฐานเพียงพอในที่จะชี้ว่าพนักงานทั้งสองเกี่ยวข้องกับการสูญหายของบรรจุภัณฑ์อันตรายนี้
ข้อมูลจากnews.mthai



ข่าวเคมี1

ตรวจสอบแล้ว! สารเคมี ใน ซ.พหลฯ24 เป็น อีลีเดียม 192
สารกัมมันตรังสีโคบอลต์ 60

เมื่อเวลาประมาณ 15.20 น. ที่ผ่านมา เพจ FM. 91 Trafficpro ได้รายงานว่าเกิดเหตุสารเคมีรั่วไหลในโกดังสินค้าแห่งซ.พหลฯ 24 เบื้องต้นเจ้าหน้าที่จากสำนักงานปรมณูเพื่อสันติ เข้าตรวจสอบแล้ว พร้อมสั่งเร่งอพยพคนออกจากพื้นที่ และประกาศให้ประชาชนที่อยู่บริเวณดังกล่าว ปิดประตูและหน้าต่างเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นเบื้องต้นคาดว่า เป็น สารกัมมันตรังสีโคบอลต์ 60 ซึ่งเป็นสารอันตราย ที่ใช้สำหรับรักษาผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ที่ถูกรังสีนี้จะให้เกิดเม็ดเลือดขาวต่ำ มีอาการอ่อนเพลีย มือไหม้พอง และสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งบางคนมีอาการตื่นกลัวไม่ยอมรักษาโดยวิธีฉายรังสีจากโคบอลท์-60 หรือสารรังสีหรือแร่โคบอลท์-60 ประกอบด้วย รังสีแกมม่าและรังสีเบต้าและรังสีที่ใช้เป็นตัวรักษาเป็นอันตราย
คือ รังสีแกมมา มีแรงทะลุทลวงมากกว่า รังสีเบต้ามากโคบอลท์-60 เป็นสารรังสีที่ใช้ในทางการแพทย์ในไทย ตั้งแต่ พ.ศ.2501 โดยปัจจุบันใช้เป็นต้นกำเนิดรังสีแกมม่า สำหรับรักษาโรคมะเร็ง โดยอาศัยคุณสมบัติของรังสีที่สามารถทำลายเซลล์มะเร็ง ทำให้ผู้ป่วยหายจากโรคมะเร็งได้ และปัจจุบันนี้ก็มีผู้ป่วยมะเร็งชาวไทยจำนวนมากมายที่รอดชีวิตจากโรคมะเร็งเกิน 10-30 ปี

ล่าสุด
คืบหน้าล่าสุดเจ้าหน้าที่สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ยืนยันสารเคมีที่พบไม่ใช่โคบอล์ต 60 ไม่มีการรั่วไหล ระบุเป็นอีลีเดียม 192 ใช้ตรวจรอยเชื่อมในภาคอุตฯ ระดับรังสีหมดลงแล้ว พร้อมระบุว่าแม้ตรวจจสอบพบว่าอุปกรณ์ชิ้นนี้จะใช้งานและระดับรังสีหมดไปแล้ว ก็จะเคลื่อนย้ายไปไว้ที่สำนักงานเพื่อให้ประชาชนมั่นใจ
โดยเจ้าหน้าที่จากสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากนี้สามารถตรวจสอบได้ว่าบริษัทใดเป็นผู้นำเข้าอุปกรณ์ชิ้นนี้ การนำมาทิ้งไว้เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจะทำการสอบสวนต่อไปเพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด ส่วนใครที่พบเจอวัตถุต้องสงสัยที่มีสัญลักษณ์เกี่ยวกับรังสี สามารถแจ้งได้ที่ 089-200-6243 ได้ตลอด 24 ชม.
ข้อมูลจากnews.mthai.com