บทที่ 1ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี

บทที่ 2 อะตอมและสมบัติของธาตุ

บทที่ 3 พันธะเคมี

ข้อสอบพร้อมเฉลย

วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2561

ข่าวเคมี7

ทำไร่ข้าวโพด ลดสารเคมี เพิ่มผลผลิต

ทำไร่ข้าวโพด ลดสารเคมี เพิ่มผลผลิต

เกษตรกร อ.บ้านหลวง จ.น่าน หันมาทำน้ำหมักชีวภาพ ใช้ควบคู่กับสารเคมีในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อรักษาผลผลิต หวังลดใช้สารเคมี และดูแลพื้นที่ต้นน้ำ หลังผลวิจัยของมหาวิทยาลัยนเรศวร พื้นที่ จ.น่าน เป็นพื้นที่ที่มีการใช้สารเคมีทางการเกษตรจำนวนมาก
หลังการเปิดเผยข้อมูลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยนเรศวรถึงการใช้สารเคมีในภาคการเกษตร จ.น่าน โดยพบว่ามีการตกค้างในสิ่งแวดล้อมสูง ซึ่งหนึ่งในแนวทางที่กรมควบคุมมลพิษเร่งแก้ปัญหา คือกำหนดค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดิน เพื่อใช้เป็นเกณฑ์หลังจากที่ไทยยังไม่มีมาตรฐานชี้วัดชัดเจน
นายวิจารย์ สิมาฉายา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขได้สุ่มตรวจสารเคมีที่พบในแหล่งต้นน้ำน่าน ซึ่งพบสารเคมีตกค้าง สอดคล้องกับผลวิจัยของมหาวิทยาลัยนเรศวรและสารเคมีที่พบในปริมาณที่สูง คือ กลุ่มสารเคมีกำจัดวัชพืชและยาฆ่าแมลง
อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ระบุว่า จากนี้หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเร่งหารือเพื่อกำหนด "มาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดิน" หรือ คุณภาพของน้ำในแม่น้ำลำคลอง เพราะที่ผ่านมาประเทศไทยยังไม่มีเกณฑ์มาตรฐานค่าชี้วัด ที่เหมาะสมในการดูแลสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังพบว่าสารเคมีที่ภาคการเกษตรใช้ในปริมาณสูงเป็นสารเคมีที่ไม่ได้ระบุไว้ในเกณฑ์การตรวจ ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ซึ่งจะต้องเร่งตรวจสอบต่อไป
เกษตรกรบ้านดู่ ต.บ้านฟ้า อ.บ้านหลวง จ.น่าน ซึ่งส่วนใหญ่ทำไร่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สำหรับการปลูกและการดูแลเกษตรกรจะใช้น้ำหมักชีวภาพ นายกุศล พอใจ คือหนึ่งในเกษตรกรที่ใช้หัวเชื้อน้ำหมัก กล่าว่า เมื่อลดใช้สารเคมี นอกจากจะช่วยลดต้นทุนแล้ว ผลผลิตยังมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอีกด้วย ซึ่งที่ผ่านมายังมีการผสมสารเคมีในน้ำหมักบ้างแต่ใช้ในอัตราที่น้อยลง
สำหรับขั้นตอนการเตรียมไร่เพื่อเพาะปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว 120 วัน แต่ละขั้นตอนลดการใช้สารเคมี และใช้น้ำหมักชีวภาพเป็นตัวเสริมส่วนผลผลิตที่ได้ก็เพิ่มขึ้น โดย นายกุศล กล่าวว่า เมื่อได้พื้นที่เพาะปลูกเกษตรกรจะหยอดเมล็ดข้าวโพดและพ่นยา ครั้งที่ 1 โดยไร่ข้าวโพด 1 ไร่ เขาจะใช้ยาฆ่าหญ้าพาราควอต 500 ซีซี ซึ่งลดลงจากเดิมครึ่งหนึ่ง คือ 1,000 ซีซี หรือ 1 ลิตรและใช้น้ำหมักแทน 3 ลิตร ผสมน้ำเปล่าอีก 200 ลิตร และเมื่อข้าวโพด อายุ ได้ 25-30 วัน จะพ่นยาอีกครั้ง ครั้งนี้จะใช้ยาฆ่าหญ้าพาราควอต 50 ซีซี น้ำหมัก 1 ลิตร น้ำเปล่า 20 ลิตร ซึ้งรอบนี้จะลดการใช้สารเคมีลง 4 เท่า
ข้อมูลจากnews.thaipbs.or.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น