ในปีพ.ศ.2346 จอห์น ดอลตัน นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษได้เสนอทฤษฎีอะตอม เพื่อใช้อธิบายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงมวลของสารก่อนและหลังทำปฏิกิริยาเคมี ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้
1.ธาตุประกอบด้วยอนุภาคเล็กๆ อนุภาคเหล่านี้เรียกว่า อะตอม ซึ่งแบ่งแยกและทำให้สูญหายไม่ได้
2.อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันมีสมบัติเหมือนกัน เช่น มีมวลเท่ากัน แต่จะมีสมบัติแตกต่างกันจากอะตอมของธาตุอื่น
3.สารประกอบเกิดจากอะตอมของธาตุมากกว่าหนึ่งชนิดทำปฏิกิริยาเคมีกันในอัตราส่วนที่เป็นเลขลงตัวน้อยๆ
แบบจำลองอะตอมตามทฤษฎีดอลตัน
ทฤษฎีอะตอมของดอลตันช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถอธิบายลักษณะและสมบัติของอะตอมได้เพียงระดับหนึ่ง ต่อมาได้มีการศึกษาเกี่ยวกับอะตอมเพิ่มขึ้น และค้นพบว่ามีข้อมูลบางประการไม่สอดคล้องกับทฤษฎีอะตอมของดอลตัน เช่นพบว่าอะตอมของธาตุชนิดเดียวกันมีมวลแตกต่างกันได้ อะตอมสามารถแบ่งแยกได้ แนวคิดเกี่ยวกับทฤษฎีอะตอมของดอลตันจึงไม่ถูกต้อง
ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ได้มีการค้นพบ
หลอดรังสีแคโทด
และในปี 1897 ได้มีผู้ทำการทดลองเกี่ยวกับ รังสี แคโทด นี้ โดย ค้นพบ ว่ามี อนุภาค ที่มี ประจุ ไฟฟ้า ลบ ซึ่ง ต่อมา เรียกว่า "อิเล็กตรอน" จาก รังสี แคโทด เขา ผู้นี้ คือ เซอร์โจเซฟ จอห์น ทอมสัน ( Sir Joseph John Thomson ) ดังนั้น ความเชื่อ ที่เข้าใจ กันว่า อะตอม แบ่งแยก อีก ไม่ได้ จึงไม ่ถูกต้อง อีก ต่อไป และ ทอมสัน ได้เสนอ แบบจำลอง อะตอม ขึ้นใหม่ ดังนี้ "อะตอม มีลักษณะ เป็น รูป ทรงกลม ประกอบ ด้วย อนุภาค ที่มี ประจุ บวก และ มี อิเล็กตรอน ซึ่ง มี ประจุ ไฟฟ้า ลบ อะตอม โดยปกติ อยู่ใน สภาพ เป็นกลาง ทาง ไฟฟ้า ซึ่งทำ ให้ทั้งสอง ประจุ นี้มี จำนวน เท่ากัน และ กระจาย อยู่ทั่วไป อย่าง สม่ำเสมอ ภายใน อะตอม โดยมีการ จัดเรียง ที่ทำให้ อะตอม มีสภาพ เสถียร มากที่สุด" ดังรูป
แต่แบบจำลองอะตอมของ ทอมสัน นี้ยังไม่สามารถ อธิบาย ข้อสงสัย บางอย่าง ได้ เช่น ประจุ ไฟฟ้า บวกอยู่กันได้ อย่างไร ใน อะตอม และไม่สามารถ อธิบาย คุณสมบัติ อื่นๆ ของอะตอม ตัวอย่างเช่น สเปกตรัม ที่แผ่ ออกมา จากธาตุ ในช่วงเวลาต่อมานักวิทยาศาสตร์ได้ทำการทดลองเพิ่มเติมและมีข้อมูลเพิ่มขึ้น ซึ่งแบบจำลองอะตอมของทอมสันไม่สามารถอธิบายได้
แบบจำลองอะตอมของรัทเธอร์ฟอร์ด
เออร์เนสต์ รัทเธอร์ฟอร์ด (Ernest Rutherford) ได้ทำการ
จาก การ ทดลอง นี้ รัทเธอร์ฟอร์ด จึงได้ เสนอ แบบ จำลอง อะตอม ว่า " อะตอม มีลักษณะ โปร่ง ประกอบ ด้วย ประจุ ไฟฟ้า บวก ที่รวม กัน อยู่ที่ศูนย์กลาง เรียกว่า นิวเคลียส ซึ่งถือ ว่าเป็น ที่รวม ของ มวล เกือบ ทั้งหมด ของ อะตอม โดย มีอิเล็กตรอน เคลื่อนที่ รอบๆ นิวเคลียส ด้วย ระยะ ห่าง จาก นิวเคลียส มาก เมื่อ เทียบกับ ขนาดของ นิวเคลียส และ ระหว่าง นิวเคลียส กับ อิเล็กตรอน เป็น ที่ว่าง เปล่า"แต่ แบบจำลอง นี้ ยังมี ข้อกังขา ที่ยัง ไม่สามารถ หา คำตอบ ได้คือ
1.อิเล็กตรอน ที่เคลื่อนที่ โดย มีความเร่ง จะ แผ่คลื่น แม่เหล็ก ไฟฟ้า ออกมา ทำให้ พลังงาน จลน์ ลดลง ทำไม อิเล็กตรอน วิ่งวน รอบ นิวเคลียส ตามแบบ จำลอง ของ รัท เธอร์ฟอร์ด จึง ไม่ สูญเสีย พลังงาน และ ไปรวม อยู่ที่ นิวเคลียส
2. อะตอมที่มีอิเล็กตรอนมาก กว่า หนึ่งตัว เมื่อ วิ่งวน รอบ นิวเคลียส จะจัดการ เรียงตัว อย่างไร
3. ประจุบวกที่รวมกันอยู่ในนิวเคลียส จะอยู่กัน ได้ อย่างไร ทั้งๆ ที่ เกิดแรง ผลัก
รูปแบบจำลองอะตอมของรัทเธอร์ฟอร์ด
แบบจำลองอะตอมของนีลส์โบร์
นีลส์โบร์ได้เสนอแบบจำลองอะตอม โดยอาศัยทฤษฎีของพลังค์และอัลเบิร์ตไอน์สไตน์ ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับความถี่ของคลื่น ( ควอนตัม ) รวมทั้งความรู้เรื่องของเส้นสเปกตรัม
เรื่องเส้นสเปกตรัม
เมื่ออิเล็กตรอนได้รับพลังงาน จึงขึ้นไปอยู่ในระดับพลังงานที่สูงขึ้น ทำให้อะตอมไม่เสถียร อิเล็กตรอนจึงคาย พลังงานเท่ากับพลังงานที่ได้รับเข้าไปพลังงานส่วนใหญ่ที่คายออกอยู่ในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ปรากฏเป็นเส้น สเปกตรัม 2. การเปลี่ยนระดับพลังงานของอิเล็กตรอน อาจมีการเปลี่ยนข้ามขั้นได้ 3. อิเล็กตรอนในระดับพลังงานต่ำจะอยู่ใกล้นิวเคลียส 4. ระดับพลังงาต่ำอยู่ห่างกันมากกว่าระดับพลังงานสูง ระดับพลังงานยิ่งสูงขึ้นจะยิ่งอยู่ชิดกันมากขึ้น
สรุปแบบจำลองอะตอมของนีลส์โบร์
1.อิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่รอบนิวเคลียสเป็นชั้นๆตามระดับพลังงานและแต่ละชั้นจะมีพลังงานเป็นค่าเฉพาะตัว อิเล็กตรอนที่อยู่ใกล้นิวเคลียสมากที่สุดจะเรียกว่าระดับพลังงานต่ำสุด
ยิ่งอยู่ห่างจากนิวเคลียสมากขึ้น ระดับพลังงานจะยิ่งสูงขึ้น
อิเล็กตรอนที่อยู่ใกล้นิวเคลียสมากที่สุดจะเรียกระดับพลังงาน
n = 1 ระดับพลังงานถัดไปเรียกระดับพลังงาน n =2 , n = 3,…….ตามลำดับ หรือเรียกเป็นชั้น K , L , M ,N ,O , P , Q ….
รูปแบบจำลองอะตอมของนีลโบร์
แบบจำลองอะตอมของกลุ่มหมอก
แบบจำลองอะตอมของกลุ่มหมอก
จากแบบจำลองอะตอมของโบร์ ไม่สามารถอธิบายสมบัติบางอย่างของธาตุที่มีหลายอิเล็กตรอนได้จึงมีการศึกษาเพิ่มเติมและเชื่อว่าอิเล็กตรอนมีสมบัติเป็นได้ทั้ง คลื่นและอนุภาคการศึกษาเพิ่มเติมและเชื่อว่า อิเล็กตรอนมีสมบัติเป็นได้ทั้ง คลื่นและอนุภาค
สรุปแบบจำลองอะตอมแบบกลุ่มหมอก
แบบจำลองนี้เชื่อว่า
1. อิเล็กตรอนไม่ได้เคลื่อนที่เป็นวงกลม แต่เคลื่อนที่ไปรอบๆนิวเคลียสเป็นรูปทรงต่างๆตามระดับพลังงาน
2. ไม่สามารถบอกตำแหน่งที่แน่นอนของอิเล็กตรอนไ้ด้ เนื่องจากอิเล็กตรอนมีขนาดเล็กมากและเคลื่อนที่รวดเร็วตลอดเวลาไปทั่วทั้งอะตอม
3. อะตอมประกอบด้วยกลุ่มหมอกของอิเล็กตรอนรอบนิวเคลียส บริเวณที่มีหมอกทึบแสดงว่ามีโอกาสพบอิเล็กตรอนได้มากกว่าบริเวณที่มีหมอกจาง ดังรูปที่แสดงไว้
1. อิเล็กตรอนไม่ได้เคลื่อนที่เป็นวงกลม แต่เคลื่อนที่ไปรอบๆนิวเคลียสเป็นรูปทรงต่างๆตามระดับพลังงาน
2. ไม่สามารถบอกตำแหน่งที่แน่นอนของอิเล็กตรอนไ้ด้ เนื่องจากอิเล็กตรอนมีขนาดเล็กมากและเคลื่อนที่รวดเร็วตลอดเวลาไปทั่วทั้งอะตอม
3. อะตอมประกอบด้วยกลุ่มหมอกของอิเล็กตรอนรอบนิวเคลียส บริเวณที่มีหมอกทึบแสดงว่ามีโอกาสพบอิเล็กตรอนได้มากกว่าบริเวณที่มีหมอกจาง ดังรูปที่แสดงไว้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น